สินค้าเเละบริการ

รูปทรงกล่องต่างๆ

รูปทรงกล่องต่างๆ

กล่องหูหิ้ว

  • รูปทรงน่ารัก มีหูจับ ลูกค้าถือกลับบ้านสะดวก
  • เพิ่มมูลค่าของสินค้า

กล่อง ติดกาว พร้อมใช้งาน

  • ประหยัดเวลาในการขึ้นรูป
  • เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน

กล่องฝาเสียบ เครื่องสำอางค์

  • เหมาะกับกล่องเครื่องสำอางค์ กล่องซีเรียล กล่องของฝาก

กล่องพรีเมี่ยม

  • เพิ่มมูลค่าของสินค้า
  • ราคาสูงกว่ากล่องทั่วไป
  • เหมาะสำหรับของขวัญ ใส่ขนมฉลองเทศกาลต่างๆ

กล่อง Fast Food

  • เหมาะกับใส่ของทอดเช่น เบอร์เกอร์ เฟรนซ์ฟราย

กล่อง Snack ไม่ติดกาว

  • กล่องมาตรฐานเหมาะสำหรับเพิ่งเริ่มต้น
  • ราคาไม่แพง

ถาดต่างๆ

  • มีทั้งแบบขึ้นรูป และไม่ขึ้นรูป

ชนิดของกระดาษ

กระดาษอาร์ตการ์ด
(Art Card Paper)

เป็นกระดาษเนื้อแน่นสีขาวที่ผ่านการเคลือบผิว ให้เรียบเหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรง และเน้นความสวยงาม เช่น กล่องอาหาร กล่องขนม กล่องเครื่องสำอางค์

คุณสมบัติ

กระดาษคราฟท์
(Kraft Paper)

กระดาษสีน้ำตาล มีความแข็งแรง ทนทานสูง สีของกระดาษคราฟท์จะแตกต่างกันไปตามสีของเนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ ที่เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติ

กระดาษกล่องแป้งหลังเทา
(Duplex Board with Grey Back)

เป็นกระดาษที่ผลิตจากเยื่อ recycled มีผิวเรียบเป็นสีขาวเพื่อใช้สำหรับการพิมพ์งาน สีของกระดาษด้านหลังเป็นสีเทา มีความแข็งแกร่งและราคาถูก สำหรับการใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์ทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการความหรูหรามาก เช่น กล่องสบู่ กล่องยาสีฟัน กล่องถุงมือยาง

คุณสมบัติ

กระดาษกล่องแป้งหลังขาว
(Duplex Board with White Back)

จัดอยู่ในประเภทกระดาษ Paperboard เช่นเดียวกันกับกล่องแป้งหลังเทา แต่จะมีลักษณะสีขาวทั้ง 2 ด้าน ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการเน้นภาพลักษณ์ที่สะอาดแต่ยังต้องการประหยัดต้นทุน จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนกระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียวได้

คุณสมบัติ

งานพิมพ์และเคลือบ

งานพิมพ์

พิมพ์ 4 สี (CMYK)

CMYK ย่อมาจาก ย่อมาจาก cyan (ฟ้า) magenta (แดง) yellow (เหลือง) black (ดำ) คือแม่สีที่ใช้ในการพิมพ์ให้เกิดสีต่างๆ โดยการนำเอาแม่สี 4 สี ฟ้า แดง เหลือง ดำ มาพิมพ์ทับซ้อนกันให้เกิดเป็นสีสันต่างๆขึ้นมานับล้านเฉดสี งานพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์ 4 สี เช่น พิมพ์ปกโปสเตอร์ พิมพ์ปกวารสาร พิมพ์หน้าแฟชั่นในนิตยสาร พิมพ์ใบปลิว พิมพ์แผ่นพับ พิมพ์หนังสือ พิมพ์สมุด พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ พิมพ์ปฏิทิน พิมพ์ฉลาก พิมพ์การ์ด พิมพ์โปสเตอร์ พิมพ์ถุงกระดาษ เป็นต้น แต่ทั้งนี้สีงานพิมพ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะดรอปหรือสดน้อยกว่าสีบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือ โดยผู้จัดทำไฟล์จะต้องเลือกโหมดสีที่โปรแกรมทำไฟล์ต่าง ๆ เป็น CMYK เพื่อความใกล้เคียงที่สุด

สีพิเศษ หรือสี Pantone

สีพิเศษ หรือสี Pantone ที่เรียกกันแบบสากล เนื่องจากเป็นการอ้างอิงค่าสีจากมาตรฐาน Pantone เป็นหลัก เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกสีที่ตรงความต้องการ และงานพิมพ์ออกมาตรงที่สุด เพราะสีพิเศษ หรือ สี Pantone จะมีรหัสสีจำแนกไว้อย่างชัดเจน เพื่อความถูกต้องและแม่นยำต่อการนำไปใช้ โดยส่วนมากการพิมพ์สีพิเศษ จะเป็นการพิมพ์สีตาย หรือสีทึบสีเดียว โดยไม่มีการพิมพ์ผสม หรือทับซ้อนกันกับสีอื่น ๆ บนงานพิมพ์ เพื่อให้ผลงานพิมพ์ออกมาตรงความต้องการของลูกค้า และแม่นยำที่สุด นิยมใช้ในงานที่เน้นสีของ LOGO สินค้า สีของแบรนด์ เพื่อให้ตรงกับ CI หรืออัตลักษณ์ขององค์กร การพิมพ์สีพิเศษไม่เหมาะกับการผลิตงานจำนวนน้อย เนื่องจากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง

งานเคลือบ

เคลือบ Water based

(Water based Coating)

การเคลือบลงบนผิวกระดาษโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย มีทั้งแบบเงาและด้าน โดยจะมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ไม่มันวาวหรือด้านเท่าการเคลือบชนิดอื่นๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เหมาะกับกล่องอาหาร และกล่องขนม เนื่องจากเป็น Food grade และ ราคาไม่สูง

เคลือบ OPP

(OPP Film Laminating)

เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยแผ่นฟิล์ม OPP โดยกาวแล้วถูกทำให้แห้งด้วยความร้อน ทำให้กระดาษมีความเหนียวแข็งแรงยิ่งขึ้นและสามารถกันน้ำได้มากขึ้น ลักษณะพื้นผิว จะมีทั้งแบบที่มีผิวมันวาว (Glossy) และผิวด้าน (Matt) ให้ความเรียบและเงาสูงกว่าการเคลือบชนิดอื่น แต่ก็มีต้นทุนสูงกว่า งานที่เหมาะสมกับการเคลือบชนิดนี้ เช่น กล่องเครื่องสำอางค์ที่ต้องการยกระดับสินค้า

เคลือบกันซึม

(Sizing Agent)

สารกันซึม เป็นสารละลาย Food grade ที่ใช้ช่วยลดการซึมของของเหลวเข้าไปในเนื้อกระดาษ ทำให้กระดาษต้านทานการซึมน้ำได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับเคลือบด้านในกล่องอาหารที่ต้องโดนความชื้น น้ำมัน หรือซอส การเคลือบกันซึมจะไม่สามารถกันน้ำหรือน้ำมันได้ 100% แต่ว่าจะมีราคาไม่สูงเท่าการเคลือบ Pe

เคลือบ PE

(Polyethylene or Polythene Coating)

คือการเคลือบผิวด้วย Pe ซึ่งเป็นฟิล์ม Food grade เพื่อให้ทนต่อความชื้น กันน้ำและกันน้ำมันซึมได้ นิยมนำไปใช้เคลือบด้านในของบรรจุภัณฑ์อาหาร ที่ต้องมีการสัมผัสน้ำ หรือน้ำมันมากๆ

เคลือบ Uv

(Glossy UV Coating)

เป็นการเคลือบชิ้นงานด้วยสารเคลือบที่แห้งตัวด้วยแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ให้ความเงางาม และคุณสมบัติพิเศษกับงานพิมพ์ นิยมเคลือบบนปกนิตยสาร ฉลาก โบว์ชัวร์ คู่มืออาหาร ไม่นิยมเคลือบในกล่องขนมหรืออาหารที่ต้องสัมผัสอาหารกับกล่องโดยตรง

เทคนิคงานพิมพ์อื่นๆ

เทคนิคงานพิมพ์อื่นๆ

Spot Uv

Spot UV คือ การเคลือบ UV เงาเฉพาะจุด เพื่อเน้นส่วนที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นโลโก้ ตัวอักษร หรือ รูปภาพที่ต้องการ ซึ่งสามารถเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานพิมพ์และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปจะนิยมเคลือบด้านก่อน เพื่อให้ตำแหน่งที่ Spot UV เด่นชัดยิ่งขึ้น

ปั๊มนูน

เป็นการขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้นูนขึ้นได้รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับ เป็นการเพิ่มความสวยงามโดยให้กระดาษดูมีมิติมากขึ้น เพิ่มผิวสัมผัสให้กระดาษที่เรียบและแบนมีมิติมากขึ้น ไม่ว่าจะนูนขึ้นหรือจมลงไปกลับทำให้ความรู้สึกที่พิเศษที่ต่างจากงานพิมพ์ผิวเรียบธรรมดา เช่น ปั๊มนูนโลโก้ หรือตัวอักษรที่ต้องการเน้นของบรรจุภัณฑ์

ปั๊มนูน

เป็นการขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้นูนขึ้นได้รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับ เป็นการเพิ่มความสวยงามโดยให้กระดาษดูมีมิติมากขึ้น เพิ่มผิวสัมผัสให้กระดาษที่เรียบและแบนมีมิติมากขึ้น ไม่ว่าจะนูนขึ้นหรือจมลงไปกลับทำให้ความรู้สึกที่พิเศษที่ต่างจากงานพิมพ์ผิวเรียบธรรมดา เช่น ปั๊มนูนโลโก้ หรือตัวอักษรที่ต้องการเน้นของบรรจุภัณฑ์

ปั๊มเค

การนำเอาฟอยล์หรือเค (Foiling) ประทับลงไปยังพื้นผิวของแบบพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ ฟอยล์หรือเค (Foiling) อยู่ติดกับแบบพิมพ์หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเมื่อพิมพ์ลงไปแล้วก็จะทำให้งานที่ออกมามีรูปแบบที่สวยหรูหรามากขึ้น สามารถทำให้เกิดเป็นเงา เพิ่มมิติให้กับโลโก้หรือตัวอักษร เพิ่มมูลค่างานพิมพ์ให้ดูหรูหรา พรีเมียม โดยทั่วไปจะนิยมสีทองและสีเงิน